RSS

โวหารภาพพจน์

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักเรียนเข้าใจและสามารถบอกโวหารภาพพจน์จากบทประพันธ์ต่างๆได้

โวหาร  คือ  การใช้ถ้อยคำอย่างมีชั้นเชิง  เป็นการแสดงข้อความออกมาในทำนองต่างๆ  เพื่อให้ข้อความได้เนื้อความดี  มีความหมายแจ่มแจ้ง เหมาะสมน่าฟัง  ในการเขียนเรื่องราวอาจใช้โวหารต่างๆ  กัน  แล้วแต่ชนิดของ                                                                                                                       

ประเภทของโวหารภาพพจน์

.  อุปมาโวหาร  (Simile)    อุปมา  คือ  การเปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่งโดยใช้คำเชื่อมที่มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า    “ เหมือน ”    เช่น   ดุจ  ดั่ง  ราว  ราวกับ  เปรียบ  ประดุจ  เฉก  เล่ห์  ปาน  ประหนึ่ง  เพียง  เพี้ยง  พ่าง  ปูน  ถนัด  หม้าย   เสมอ  ฯลฯ

ตัวอย่าง เช่น   ปัญญาประดุจดังอาวุธ
จมูกเหมือนลูกชมพู่
ใบหูเหมือนทอดมันร้อนๆ
๒.  อุปลักษณ์  ( Metaphor ) อุปลักษณ์  ก็คล้ายกับอุปมาโวหารคือเป็นการเปรียบเทียบเหมือนกัน  แต่เป็นการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง  การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง   อุปลักษณ์จะไม่กล่าวโดยตรงเหมือนอุปมา แต่ใช้วิธีกล่าวเป็นนัยให้เข้าใจเอาเอง   ที่สำคัญอุปลักษณ์จะไม่มีคำเชื่อมเหมือนอุปมา                                                                                                       

ตัวอย่าง เช่น      ขอเป็นเกือกทองรองบาทา    ไปจนกว่าชีวันจะบรรลัย
เธอเป็นดินหรือเธอเป็นหญ้าแท้จริงมีค่ากว่าใครนิรันดร์
ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ

๓.   สัญลักษณ์  ( symbol )   สัญลักษณ์ เป็นการเรียกชื่อสิ่งๆหนึ่งโดยใช้คำอื่นมาแทน  ไม่เรียกตรงๆ ส่วนใหญ่คำที่นำมาแทนจะเป็นคำที่เกิดจากการเปรียบเทียบและตีความ  ซึ่งใช้กันมานานจนเป็นที่เข้าใจและรู้จักกันโดยทั่วไป   ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผู้ประพันธ์ต้องการเปรียบเทียบเพื่อสร้างภาพพจน์หรือมิฉะนั้นก็อาจจะอยู่ในภาวะที่กล่าวโดยตรงไม่ได้  เพราะไม่สมควรจึงต้องใช้สัญลักษณ์แทน

ตัวอย่าง เช่น       เมฆหมอก     แทน    อุปสรรค
สีดำ   แทน   ความตาย ความชั่วร้าย
สีขาว   แทน    ความบริสุทธิ์
กุหลาบแดง   แทน    ความรัก
หงส์               แทน    คนชั้นสูง
กา                  แทน       คนต่ำต้อย
ดอกไม้          แทน   ผู้หญิง
แสงสว่าง       แทน    สติปัญญา

 .  บุคลาธิษฐาน   (  Personification )   บุคลาธิษฐาน หรือ บุคคลวัต  บุคคลสมมติ  คือการกล่าวถึงสิ่งต่างๆ ที่ไม่มีชีวิต ไม่มีความคิด   ไม่มีวิญญาณ  เช่น   โต๊ะ  เก้าอี้  อิฐ  ปูน   หรือสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์  เช่น ต้นไม้  สัตว์    โดยให้สิ่งต่างๆเหล่านี้  แสดงกิริยาอาการและความรู้สึกได้เหมือนมนุษย์  ให้มีคุณลักษณะต่างๆ เหมือนสิ่งมีชีวิต

ตัวอย่าง เช่น         ไส้เดือนเที่ยวเกี้ยวสาว      ชาวอัปสรนอนชั้นฟ้า
ทุกจุลินทรีย์อะมีบา           เชิดหน้าได้ดิบได้ดี          

                 

๕. อธิพจน์  ( Hyperbole )  พจน์ หรือ อธิพจน์  คือโวหารที่กล่าวเกินความจริง เพื่อสร้างและเน้นความรู้สึกและอารมณ์   ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่ลึกซึ้ง   ภาพพจน์ชนิดนี้นิยมใช้กันมากแม้ในภาษาพูด  เพราะเป็นการกล่าวที่ทำให้เห็นภาพได้ง่ายและแสดงความรู้สึกของกวีได้อย่างชัดเจน                                                                                                                                        

ตัวอย่าง เช่น        คิดถึงใจจะขาด
หนาวกระดูกจะหลุด
การบินไทยรักคุณเท่าฟ้า
คิดถึงเธอทุกลมหายใจเข้าออก     


๖.
 สัทพจน์( Onematoboeia )  สัทพจน์  หมายถึง  ภาพพจน์ที่เลียนเสียงธรรมชาติ   เช่น   เสียงดนตรี    เสียงสัตว์   เสียงคลื่น    เสียงลม   เสียงฝนตก  เสียงน้ำไหล   ฯลฯ   การใช้ภาพพจน์ประเภทนี้จะทำให้เหมือนได้ยินเสียงนั้นจริง ๆ

ตัวอย่าง เช่น         ลูกหมาร้องบ๊อก ๆ ๆ
ลูกนกร้องจิ๊บๆๆ
ลูกแมวร้องเหมียว ๆ ๆ       

   

.  นามนัย ( Metonymy )   นามนัย  คือ  การใช้คำหรือวลีซึ่งบ่งลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่ง  คล้ายๆ สัญลักษณ์     แต่ต่างกันตรงที่  นามนัยนั้นจะดึงเอาลักษณะบางส่วนของสิ่งหนึ่งมากล่าวให้หมายถึงส่วนทั้งหมด  หรือใช้ชื่อส่วนประกอบสำคัญของสิ่งนั้นแทนสิ่งนั้นทั้งหมด                                                                               

ตัวอย่าง เช่น  เมืองโอ่ง  คือ จังหวัดราชบุรี
เมืองย่าโม  คือ  จังหวัดนครราชสีมา
ทีมเสือเหลือง  คือ ทีมมาเลเซีย
ทีมกังหันลม  คือ ทีมเนเธอร์แลนด์
ทีมสิงโตคำราม  คือ อังกฤษ
เก้าอี้  คือ ตำแหน่ง  หน้าที่
มือที่สาม  คือ  ผู้ก่อความเดือดร้อน

๘.  ปรพากย์  ( Paradox )    ปฏิพากย์ หรือ ปรพากย์  คือการใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงกันข้ามหรือขัดแย้งกันมากล่าว  อย่างกลมกลืนกันเพื่อเพิ่มความหมายให้มีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่าง เช่น    เลวบริสุทธิ์
บาปบริสุทธิ์
สวยเป็นบ้า
สวยอย่างร้ายกาจ

๙.  วิภาษ (Oxymoron) การเปรียบเทียบความขัดแย้ง หรือสิ่งที่ตรงข้ามกันนำมาจับเข้าคู่กัน เช่น กากับหงส์ ดินกับฟ้า    มืดกับสว่าง ดังตัวอย่าง

ตัวอย่างเช่น   ความมืดแผ่รอบกว้างสว่างหลบ
รอบใจพลบแพ้พ่ายสลายขวัญ
ชวนกำสรดซบหน้าซ่อนจาบัลย์
วะหวิวหวั่นหวาดหวังว่ายังคอย

๑๐.  อรรถวิภาษ (Paradox) คือ การเปรียบเทียบการใช้คำที่ดูเหมือนจะขัดแย้งกันแต่เมื่อพิจารณาความหมายลึกซึ้งโดยแท้จริงแล้วอาจเข้ากันได้  หรือนำมาเข้าคู่กันได้อย่างกลมกลืน

ตัวอย่าง เช่น   เปลวควันเทียนริบหรี่กลับมีแสง     เกิดจากแรงตั้งจิตอธิษฐาน
ดวงตาจึงมองเห็นธรรมสืบตำนาน    ดวงใจจึงเบิกบานแต่นั้นมา
ริบหรี่ กับ แสง มีความหมายตรงข้ามกันสิ้นเชิง ครั้นเมื่ออยู่ในประโยคเดียวกันก็มีเนื้อความเรื่องเดียวกัน                                                                                                

๑๑.  อธินามนัย (Metonymy)  คือ การเปรียบเทียบ โดยจาระไนของหลาย ๆ อย่างที่มีลักษณะเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันมากล่าวนำ และสรุปความหมายรวม คือใช้ชื่อเรียกรวม ๆ แทนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือคนใดคนหนึ่ง

ตัวอย่างเช่น   เลือดสุพรรณวันก่อนเคยร้อนรุ่ม     หลั่งลงรุ่มฉาบดินทุกถิ่นฐาน
                          เย็นเป็นสุขทุกประการ      เพราะไทยหาญหวงถิ่นไว้ให้ไทยเอย

       (คำว่าไทย ในบทกลอนข้างต้น หมายถึง เฉพาะชาวไทย มิได้หมายถึงประเทศไทยหรือเชื้อชาติหรือสัญชาติแต่อย่างใด จึงเรียก อธินามนัย ส่วน ไทย คำหลังหมายถึงประเทศไทย)

๑๒.  อุปมานิทัศน์     คือการเปรียบเทียบโดยยกเรื่องราวหรือนิทานมาประกอบ  ขยาย  หรือแนะโดยนัยให้ผู้อ่านผู้ฟังเข้าใจแนวความคิด  หลักธรรม  หรือความประพฤติที่สมควรได้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น

ตัวอย่างเช่น    นิทานเรื่อง  คนตาบอดคลำช้าง  เป็นอุปมานิทัศน์ชี้ให้เห็นว่า  คนที่มีประสบการณ์  หรือภูมิหลังต่างกันย่อมมีความสามารถในการรับ
รู้ความเชื่อและทัศนคติต่างกันโคลงโลกนิติบทที่ว่าด้วย  หนูท้ารบราชสีห์   เป็นอุปมานิทัศน์   แสดงให้เห็นว่า  คนโง่หรือคนพาลที่
ด้อยทั้งกำลังกายและกำลังปัญญาบังอาจขมขู่ท้าทายผู้มีกำลังเหนือว่าตนทุกด้านแต่ผู้ที่ถูกท้ากลับเห็นว่า  ถ้าตนลดตัวลงไป
เกี่ยวข้องด้วยเท่ากับเอาพิมเสนไปแลกเกลือ  จึงหลีกเลี่ยงเสีย  ปล่อยให้คนโง่ซึ่งมีความอหังการนั้นพ่ายแพ้แก่ตนเอง

๑๓. คำไวพจน์  คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน แต่ใช้ในบริบทต่างๆกัน           

 ตัวอย่างเช่น         กิน –  รับประทาน เขมือบ หม่ำ ฉัน
ดอกบัว –  โกมุท โกมล ปทุม

 

4 responses to “โวหารภาพพจน์

  1. ชัยชาญ

    กรกฎาคม 15, 2013 at 6:40 pm

    โวหารบางอย่างคล้ายกันมาก แต่ก็มีข้อแตกต่างที่เราจะต้องสังเกตและแยกให้ได้

     
    • ruangrat

      กรกฎาคม 15, 2013 at 7:40 pm

      ใช่แล้วค่ะ ข้อสอบมักออกบ่อยๆ ทำข้อสอบมากๆเราจะได้แยกโวหารได้ง่าย

       
  2. BEAM

    กรกฎาคม 16, 2013 at 9:29 pm

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล มากกก ชอบบบบ เป็นประโยคมากมายเลยย เพราะ กำลังทำรายงานเกี่ยวกับเรื่อง โวหารภาพพจน์ พอดีเลยยย ขอบคุณมากครับ ^____^ และใช้เรื่องนี้เรียนในห้องพอดีเลย เพราะครู ในห้องอธิบายไม่ค่อยเข้าใจ พออ่านนี้เข้าใจเยอะขึ้นเลยย

     
  3. kruozone

    กรกฎาคม 16, 2013 at 10:00 pm

    เป็นการวางเนื้อหาได้ครบครัน นักเรียนสามารถ ศึกษาหาความรู้เอง ดีจริงๆ คับ

     

ใส่ความเห็น