การอ่านคำประพันธ์
การอ่านคำประพันธ์
การอ่านบทร้อยกรอง การอ่านทำนองเสนาะ
บทร้อยกรอง หมายถึง เรื่องราวที่เรียบเรียงให้เกิดความไพเราะตามระเบียบบัญญัติ แห่งฉันทลักษณ์หรือระเบียบ ที่ว่าด้วยการประพันธ์ บทร้อยกรองแต่ละชนิด จะมีลักษณะ สัมผัสบังคับแตกต่างกันตามชนิดของคำประพันธ์
การอ่านกลอนสุภาพ
ลักษณะของกลอนสุภาพ คือ บทหนึ่งมีสี่วรรค วรรคละ ๘ พยางค์ การอ่านกลอนสุภาพ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
กลอนสุภาพแต่ละวรรค โดยปกติให้อ่านเว้นจังหวะเป็น ๓ / ๒ / ๓ แต่ถ้าวรรคนั้นมี
๙ พยางค์ ให้อ่านเว้นจังหวะ ๓ / ๓ / ๓ และถ้าวรรคนั้นมี ๗ พยางค์ ให้อ่าน ๒ / ๒ / ๓ เป็นต้น
บทร้อยกรอง หมายถึง เรื่องราวที่เรียบเรียงให้เกิดความไพเราะตามระเบียบบัญญัติ แห่งฉันทลักษณ์หรือระเบียบ ที่ว่าด้วยการประพันธ์ บทร้อยกรองแต่ละชนิด จะมีลักษณะ สัมผัสบังคับแตกต่างกันตามชนิดของคำประพันธ์
การอ่านกลอนสุภาพ
ลักษณะของกลอนสุภาพ คือ บทหนึ่งมีสี่วรรค วรรคละ ๘ พยางค์ การอ่านกลอนสุภาพ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
กลอนสุภาพแต่ละวรรค โดยปกติให้อ่านเว้นจังหวะเป็น ๓ / ๒ / ๓ แต่ถ้าวรรคนั้นมี
๙ พยางค์ ให้อ่านเว้นจังหวะ ๓ / ๓ / ๓ และถ้าวรรคนั้นมี ๗ พยางค์ ให้อ่าน ๒ / ๒ / ๓ เป็นต้น
หมายเหตุ มีบทร้อยกรองที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกลอนสุภาพและมีวิธีออกเสียง สูงต่ำเช่นเดียวกัน ได้แก่ กลอนสักวาและกลอนดอกสร้อย
การอ่านโคลงสี่สุภาพ
บทประพันธ์ที่มีลักษณะเป็นโคลงสี่สุภาพมีน้อย เพราะแต่งยาก ลักษณะบังคับของคำประพันธ์ ชนิดนี้ นอกจากบังคับสัมผัสแล้ว ยังมีบังคับเอกโทด้วย คือ บังคับว่าในโคลง ๑ บท ต้องมีวรรณยุกต์เอกหรือเสียงเอก ๗ ตัว และวรรณยุกต์โท หรือเสียงโท ๔ ตัว และบังคับว่า วรรณยุกต์นั้นต้องอยู่ในที่ที่กำหนดอีกด้วย
ลักษณะของโคลงสี่สุภาพใน ๑ บท ต้องมี ๔ บาท บาทละ ๒ วรรค วรรคหน้าทุกวรรค
มี ๕ พยางค์ ส่วนวรรคหลังกำหนด ดังนี้
วรรคหลังบาทที่ ๑ มี ๒ พยางค์ คำสร้อยอีก ๒
วรรคหลังบาทที่ ๒ มี ๒ พยางค์
วรรคหลังบาทที่ ๓ มี ๒ พยางค์ คำสร้อยอีก ๒
วรรคหลังบาทที่ ๔ มี ๔ พยางค์
ถ้านับจำนวนคำแล้ว โคลงบทหนึ่งจะมี ๓๐ คำ หรือ ๓ พยางค์ (ไม่นับคำสร้อย ในบาท
ที่ ๑ และบาทที่ ๓ ซึ่งจะมีหรือไม่มีก็ได้)
บทประพันธ์ที่มีลักษณะเป็นโคลงสี่สุภาพมีน้อย เพราะแต่งยาก ลักษณะบังคับของคำประพันธ์ ชนิดนี้ นอกจากบังคับสัมผัสแล้ว ยังมีบังคับเอกโทด้วย คือ บังคับว่าในโคลง ๑ บท ต้องมีวรรณยุกต์เอกหรือเสียงเอก ๗ ตัว และวรรณยุกต์โท หรือเสียงโท ๔ ตัว และบังคับว่า วรรณยุกต์นั้นต้องอยู่ในที่ที่กำหนดอีกด้วย
ลักษณะของโคลงสี่สุภาพใน ๑ บท ต้องมี ๔ บาท บาทละ ๒ วรรค วรรคหน้าทุกวรรค
มี ๕ พยางค์ ส่วนวรรคหลังกำหนด ดังนี้
วรรคหลังบาทที่ ๑ มี ๒ พยางค์ คำสร้อยอีก ๒
วรรคหลังบาทที่ ๒ มี ๒ พยางค์
วรรคหลังบาทที่ ๓ มี ๒ พยางค์ คำสร้อยอีก ๒
วรรคหลังบาทที่ ๔ มี ๔ พยางค์
ถ้านับจำนวนคำแล้ว โคลงบทหนึ่งจะมี ๓๐ คำ หรือ ๓ พยางค์ (ไม่นับคำสร้อย ในบาท
ที่ ๑ และบาทที่ ๓ ซึ่งจะมีหรือไม่มีก็ได้)
สำหรับการใช้วรรณยุกต์เอก บางครั้งอาจใช้คำตายแทนเสียงเอกได้ เมื่อเวลาอ่าน โคลงสี่สุภาพเป็นทำนองเสนาะ จะทอดเสียงยาวระหว่างวรรคต่อวรรค หรือเอื้อนเสียงให้
ต่อเนื่องกันระหว่างวรรค
ต่อเนื่องกันระหว่างวรรค
การอ่านกาพย์
กาพย์ที่นิยมแต่งกันแพร่หลายมีอยู่ ๓ ชนิด
คือ กาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ และกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ ตัวเลขหลังชื่อกาพย์ แสดง
จำนวน คำหรือพยางค์ตามลักษณะบังคับของกาพย์แต่ละชนิด
การอ่านกาพย์ยานี
กาพย์ยานี ๑ บท มี ๒ บาท บาทที่ ๑ เรียกว่า บาทเอก บาทที่ ๒ เรียกว่า บาทโท ในแต่ละบาทมี ๒ วรรค วรรคแรกมี ๕ คำ (พยางค์) วรรคหลังมี ๖ คำ (พยางค์) ใน ๑ บาท
จึงมี ๑๑ คำ (พยางค์) เรียกว่า กาพย์ยานี ๑๑ หรือ “ยานี ๑๑” หรือ “๑๑” ก็เรียก
๑. การอ่านกาพย์ยานีนิยมแบ่งวรรคเป็น ๒ / ๓ และ ๓ / ๓ ดังนี้
กาพย์ยานี ๑ บท มี ๒ บาท บาทที่ ๑ เรียกว่า บาทเอก บาทที่ ๒ เรียกว่า บาทโท ในแต่ละบาทมี ๒ วรรค วรรคแรกมี ๕ คำ (พยางค์) วรรคหลังมี ๖ คำ (พยางค์) ใน ๑ บาท
จึงมี ๑๑ คำ (พยางค์) เรียกว่า กาพย์ยานี ๑๑ หรือ “ยานี ๑๑” หรือ “๑๑” ก็เรียก
๑. การอ่านกาพย์ยานีนิยมแบ่งวรรคเป็น ๒ / ๓ และ ๓ / ๓ ดังนี้
00 / 000
|
000 / 000
|
||
00 / 000
|
000 / 000
|
||
๒. ในการอ่านทำนองเสนาะ บาทโท นิยมอ่านเสียงสูงกว่าปกติ เช่น
การอ่านกาพย์สุรางคนางค์
กาพย์สุรางคนางค์ ๑ บท มี ๗ วรรค วรรคหนึ่งมี ๔ พยางค์ รวมบทหนึ่งมี ๒๘ พยางค์ จึงมักเรียกชื่อว่า “สุรางคนางค์ ๒๘” หรือบางทีก็เรียกว่า “๒๘”
แผนผังบังคับของกาพย์สุรางคนางค์มีดังนี้
กาพย์สุรางคนางค์ ๑ บท มี ๗ วรรค วรรคหนึ่งมี ๔ พยางค์ รวมบทหนึ่งมี ๒๘ พยางค์ จึงมักเรียกชื่อว่า “สุรางคนางค์ ๒๘” หรือบางทีก็เรียกว่า “๒๘”
แผนผังบังคับของกาพย์สุรางคนางค์มีดังนี้
ในการส่งสัมผัส มีหลักดังนี้
พยางค์สุดท้ายวรรคที่ ๑ สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายวรรคที่ ๒
พยางค์สุดท้ายวรรคที่ ๓ สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายวรรคที่ ๕ และ ๖
จังหวะในการอ่าน ให้อ่านวรรคละ ๒ จังหวะ ๒ พยางค์
พยางค์สุดท้ายวรรคที่ ๑ สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายวรรคที่ ๒
พยางค์สุดท้ายวรรคที่ ๓ สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายวรรคที่ ๕ และ ๖
จังหวะในการอ่าน ให้อ่านวรรคละ ๒ จังหวะ ๒ พยางค์
การอ่านกาพย์สุรางคนางค์ มีวิธีอ่าน ๓ วิธี คือ
๑. อ่านทำนองสามัญ
๒. อ่านทำนองเสนาะ
๓. อ่านทำนองสวด เช่น ทำนองที่ใช้อ่านหนังสือพระมาลัย
๑. อ่านทำนองสามัญ
๒. อ่านทำนองเสนาะ
๓. อ่านทำนองสวด เช่น ทำนองที่ใช้อ่านหนังสือพระมาลัย
การอ่านทำนองเสนาะและทำนองสวด ต้องฝึกหัดอ่านกับผู้รู้ หรือฟังจากต้นฉบับ
แล้วอ่านตาม จึงจะอ่านได้ถูกต้อง
แล้วอ่านตาม จึงจะอ่านได้ถูกต้อง
Advertisements
wanthai
กรกฎาคม 10, 2013 at 1:16 pm
มีสาระดีๆให้อ่าน
anamika footemwong
กรกฎาคม 16, 2013 at 9:57 pm
ได้วิธีการอ่านคำประพันธ์แต่ละประเภทอย่างถูกต้อง นำไปใช้ได้เลยค่ะ
ruangrat
กรกฎาคม 16, 2013 at 9:59 pm
ลองฝึกอ่านนะคะ